แหล่งท่องเที่ยวในตำบลสมอพลือ

พิมพ์

แหล่งท่องเที่ยวในตำบลสมอพลือ
ศาลาท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ


alt

                  ศาลาท่าน้ำสักสิทธิ์วัดท่าไชยศิริ  เดิมเรียกว่า วัดใต้  เพราะอยู่ด้านใต้ของลำน้ำแม่น้ำเพชรบุรี เหนือน้ำไปเป็นที่ตัั้งวัดกลาง และวัดเหนือ ทั้ง ๓ วัด มีอาณาเขตติดต่อกัน   วัดกลางและวัดเหนือปัจจุบันเป็นวัดร้าง เฉพาะวัดกลางขณะนี้ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งบวชที่วัดป่าแป้น ได้เข้าไปบูรณะสร้างโบสถ์ ขึ้นใหม่ทับโบสถ์เดิม และสร้างกุฎิเล็กไว้ ๓ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง
                 และกำลังดำเนินการขอยกฐานะขึ้นเป็นวัดอยู่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑ บ้านสมอพลือ ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ความเป็นมาที่ได้นามว่า "วัดท่าไชยศิริ"  นี้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งทหารไทย ปะทะกับพม่าทางด่านสิงขร  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แตกทัพถอยมา โดยพม่าได้ไล่ติดตามมา  เมื่อทหารไทยถอยมาถึงวัดใต้ได้ลงไปอาบ และดื่มน้ำที่ท่าวัดให้หายเหนื่อย เพื่อเตรียมสู้กับพม่าต่อไป
                 พอทหารไทยขึ้นจากท่าน้ำพม่าก็ตามมาทันพอดี จึงเกิดการสู้รบขึ้น ถึงขั้นตะลุมบอนในวัด จนพม่าแตกพ่ายหนีไป มีบางส่วนเข้าไปในโบสถ์ ทหารใต้ตามไปต่อสู้ในโบสถ์จนมีความเลือดติดผนังโบสถ์ ต่อมาเมื่อมีการปฏิสังขรณ์ ความเลือกได้ลบเลือนไป จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเปลี่ยนชื่อวัดใต้เป็นวัด "ท่าไชย" ต่อมากลายเป็น "ท่าไชยศิริราช" และ เพิ่งมาชื่อ "ท่าไชยศิริ"
               เมื่อประมาณ ๕๐ - ๖๐ ปี มานี้เอง  ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ๒ ประการ
               ๑.  เป็นที่ตักน้ำใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก
               ๒. เป็นที่ตักน้ำสรง  น้ำเสวย  ๒ รัชกาล (รัชกาลที่ ๕ , รัชกาลที่ ๖)
               การใช้น้ำเพชรในพระราชพิธีต่าง ๆ นั้น คงจะใช้กันมานาน แต่ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่า เริ่มมีแต่เมื่อใด  แต่ตามธรรมเนียมพระราชพิธีของไทยนั้น  นิยมใช้นำศักดิ์สิทธิ์จากสระทั้ง ๔ และแม่น้ำทั้ง ๕ โดยเฉพาะแม่น้ำทั้ง ๕ น้้น รวมแม่น้ำเพชรอยู่ด้วย  คือ  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง  แม่น้ำบางปะกง  และแม่น้ำเพชรบุรี  สำหรับแม่น้ำเพชรบุรี นั้น จะเจาะจงตักที่่ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ  และนำไปประกอบพิธีที่วัดมหาธาตุวรวิหารก่อนส่งเข้าไปประกอบพิธีที่กรุงเทพฯ ต่อไป
                น้ำที่ไปใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่หาหลักฐานได้ เป็นสารตราของทางราชการสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบุรี ตักน้ำเพชาไปใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก มีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นต้นมา จนถึงรัชกาลปัจจุบันก็ใช้นำเพชรและประกอบพิธีตักน้ำที่ท่าน้ำ

                
โบราณสถานวัดกลางวณาราม
หมู่ที่ ๑  บ้านสมอพลือ

เป็นโบราณสถานที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ตำบลสมอพลือ   เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล หลายร้อยปี 
มีเจดีย์ที่ยังสภาพดี มีเอกลักษณ์


 

alt